ใบความรู้ที่ 1
เรื่อง ความเป็นพลเมือง (1)
คําว่า “พลเมือง” มีความหมายในหลายแง่มุม และมีการนําไปใช้เทียบกับคําอื่นๆ อาทิ ประชากร ประชาชน ปวงชน และราษฎร์ ฯลฯ แต่หากพิจารณาให้ละเอียดจะสามารถทําความเข้าใจความหมายของคํา ต่างๆ ที่คล้ายกัน ได้ดังนี้
ประชาชน หมายความถึง คนทั่วไป คนของประเทศ ซึ่งไม่ใช่ผู้ปกครอง เป็นสามัญชนอยู่ภายใต้รัฐ เช่น ประชาชนทุกคนมีหน้าที่ต้องรู้กฎหมาย ใครจะปฏิเสธว่าไม่รู้ไม่ได้
ประชากร หมายถึง คนโดยทั่วไป โดยมักใช้ในกรณีพิจารณาถึงจํานวน
ราษฎร คําว่า "ราษฎร" เป็นคําเก่าแก่ที่มีใช้กันมานาน ในกฎหมายสมัยกรุงศรีอยุธยาและกฎหมาย
ตราสามดวง ก็มีการใช้คําว่า “ราษฎร” หมายถึงคนโดยทั่วไป แต่ว่า “ราษฎร” เป็นคําที่ใช้ในช่วงสมัยรัชกาล ที่ ๕ เนื่องจากสังคมไทยสมัยโบราณ ประชาชนเป็นไพร่หรือทาสเกือบทั้งหมด พอมาถึงช่วงรัชกาลที่ ๕ ได้มี การเปลี่ยนแปลงการบริหารราชการแผ่นดินครั้งใหญ่และได้ทําการเลิกทาสเลิกไพร่ทําให้ประชาชนเหล่านั้น กลายเป็นราษฎรหรือเสรีชนที่ไม่ต้องเป็นข้ารับใช้มูลนายและมีสถานะทางกฎหมายเท่าเทียมกัน จึงเรียกอดีต ไพร่ ทาส ขุนนาง รวมทั้งชนชั้นใหม่ๆ ว่า “ราษฎร”ในความหมายของ ผู้ที่ต้องเสียภาษีให้กับรัฐและต้องปฏิบัติ ตามกฎหมายของบ้านเมืองเช่นเดียวกันหมด
ปัจจุบันคําว่าราษฎร และประชาชน มีความหมายเกือบจะเหมือนกัน แต่ประชาชน สื่อถึงการเป็น เจ้าของประเทศ และเจ้าของอํานาจอธิปไตย มากกว่าราษฎร ส่วนราษฎรมีนัยของคนที่เสียเปรียบคนที่ด้อย กว่าอยู่ด้วย และมีนัยความหมายเป็นทางการน้อยกว่าคําว่า ประชาชนเช่น แม้เราจะเป็นราษฎรธรรมดา แต่ถ้า ผู้บริหารประเทศคดโกงฉ้อราษฎร์บังหลวง เราก็ต้องไปคัดค้าน ที่ผ่านมาข้าราชการมักจะกดขี่ราษฎร ดั้งนั้น ราษฎรแปลว่า คนของรัฐ เดิมหมายถึง สามัญชน คือคนที่ไม่ใช่ขุนนาง โดยทั่วไปมักหมายถึง คนธรรมดา หมู่ คนที่มิใช่ข้าราชการ
พลเมือง คําว่า “พลเมือง” เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อเกิดการปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศส เริ่มต้นเมื่อปี ค.ศ. ๑๗๘๙ ชาวฝรั่งเศสลุกฮือกันขึ้นมาล้มล้างระบอบการปกครองของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๖ ล้มล้างระบบชนชั้นต่างๆ ขณะนั้นได้แก่ พระราชวงศ์ ขุนนางข้าราชการ สมณะ นักพรต นักบวช และไพร่ ประกาศความเสมอภาคของ ชาวฝรั่งเศสทุกคน ต่อมาคําว่า "Citoyen" จึงแปลเป็น "Citizen" ในภาษาอังกฤษ
สําหรับประเทศไทย คําว่า “พลเมือง” น่าจะถูกนํามาใช้สมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕เนื่องจากผู้นําคณะราษฎรบางท่านเคยเรียนที่ประเทศฝรั่งเศส จึงได้นําเอาคํานี้มาใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญ ฉบับถาวร ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ ต่อมากลายเป็นวิชาบังคับที่นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาจะต้องเรียนควบคู่กับวิชาศีลธรรม กลายเป็นวิชา "หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม"
สําหรับคําว่า “พลเมือง” มีนักวิชาการให้ความหมาย สรุปได้พอสังเขป
พจนานุกรมนักเรียนฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมาย “พลเมือง” หมายถึง ชาวเมือง ชาวประเทศ ประชาชน“วิถี” หมายถึง สาย แนว ทาง ถนน และ “ประชาธิปไตย” หมายถึง แบบการปกครองที่ถือมติปวงชน เป็นใหญ่ ดังนั้น คําว่า “พลเมืองดีในวิถีชีวิตประชาธิปไตย” จึงหมายถึง พลเมืองที่มีคุณลักษณะที่สําคัญ คือ เป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา มีหลักการทางประชาธิปไตยในการดํารงชีวิตปฏิบัติ ตนตามกฎหมายดํารงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันอันจะก่อให้เกิดการพัฒนา สังคมและประเทศชาติ ให้เป็นสังคมและประเทศประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
✅ ใบงานที่ 1 ความเป็นพลเมือง
คําชี้แจง จงเขียนอธิบายความหมายของคําต่อไปนี้
พลเมือง หมายถึงอะไร
...............................................................................................................................
ประชาชน หมายถึงอะไร
...............................................................................................................................
ประชากร หมายถึงอะไร
...............................................................................................................................
ราษฎร หมายถึงอะไร
...............................................................................................................................
ประชาชน กับ ประชากร เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
...............................................................................................................................