ความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น
ความรับผิดชอบ หมายถึง การยอมรับผลที่เกิดจากการกระทําใดๆทั้งที่ตนเอง กระทําหรือผู้อื่น กระทําไม่ว่าสิ่งนั้นจะดีหรือไม่ จะสําเร็จหรือไม่ เช่น ความรับผิดชอบต่องานหรือหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติให้สําเร็จ ลุล่วงตามที่ได้รับมอบหมายหรือที่ได้กําหนดไว้ ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ควรมีความรับผิดชอบ ซึ่งอาจแตกต่างกัน ไปตามวัยวุฒิ และคุณวุฒิ ความรับผิดชอบที่สําคัญที่สุดของผู้อยู่ในวัยเรียน คือ รับผิดชอบในการเรียน การ ทํากิจกรรมที่เกี่ยวกับการเรียนให้สําเร็จผลด้วยดี และการตั้งใจเรียนให้มีความรู้ ความสามารถ เพื่อจะได้ใช้ ความรู้ความสามารถนั้นประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้ต่อไป ในอนาคต ไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น ผู้ที่มีความรู้จะไม่ เป็นปัญหาแก่สังคมและจะสามารถช่วยให้สังคมเจริญขึ้นด้วย ส่วนผู้ที่ไม่ตั้งใจเรียน ไม่รับผิดชอบหน้าที่ของ ตนก็จะไม่มีความรู้ อาจไม่มีอาชีพตกงาน หรือจะต้องประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองด้วยความยากลําบาก คุณพ่อ คุณแม่ หรือผู้ปกครองย่อมมีความโทมนัสใจอย่างยิ่งและตนเองอาจเป็นปัญหาของสังคมได้ เด็กๆที่อยู่ในวัย เรียนควรรับผิดชอบงานเล็กๆน้อยๆ ที่คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองมอบหมายให้ทําเช่น ดูแลคุณปู่ คุณย่า คุณ ตา คุณยาย กวาดบ้าน ถูเรือน จัดโต๊ะอาหาร รดน้ําต้นไม้ ให้อาหารสัตว์เลี้ยง ฯลฯ การทํางานเห่านี้นอกจาก จะช่วยแบ่งเบาภาระคุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองแล้ว ยังจะช่วยให้มีโอกาสฝึกการทํางานมีโอกาสคิดหาวิธี ทํางานให้สําเร็จเรียบร้อยและเกิดผลดี และยังได้ออกกําลังกายไปในตัวด้วย ทําให้มีสุขภาพดีด้วย การดูแล ผู้สูงอายุในครอบครัวทําให้มีความสุข และการให้อาหารสัตว์เลี้ยงจะทําให้เด็กมีความอิ่มเอมใจ ทําให้ชีวิตมี ความสุขอันเกิดจากการทําความดีของตนความรับผิดชอบที่สําคัญที่สุดของคนเรา คือ ความรับผิดชอบต่อ ตนเอง การดูแลตนเองไม่ให้หลงไปในทางที่ผิด ให้เป็นคนดีของสังคม ให้มีคุณธรรม
1. ความรับผิดชอบต่อตนเอง หมายถึง พฤติกรรมการรู้จักระมัดระวังรักษาสุขภาพอนามัยของ ตนเองให้สมบูรณ์ ปลอดภัยจากอันตรายอยู่เสมอ รู้จักประพฤติปฏิบัติให้เหมาะสม ละเว้นความชั่ว รู้จัก ประมาณในการใช้จ่ายและมีความประหยัด สามารถจัดหาเครื่องอุปโภคบริโภคสําหรับตนเองได้อย่าง เหมาะสม ถูกกาลเทศะในแต่ละวัย สํานึกในบทบาทและหน้าที่ของตน หมั่นใฝ่หาความรู้และฝึกฝนตนเองให้ มีประสบการณ์ในด้านต่างๆ จนประสบความสําเร็จในการดํารงชีวิต ยอมรับผลการกระทําของตนเองทั้งที่ เป็นผลดีและผลเสีย ไม่ปัดความรับผิดชอบในการกระทําของตนเองให้แก่คนอื่น ไตร่ตรองให้รอบคอบว่าสิ่งที่ ทําลงไปนั้นจะเกิดผลเสียหายขึ้นหรือไม่ ปฏิบัติแต่สิ่งที่ทําให้เกิดผลดี และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ ได้ผลดียิ่งขึ้น
2. ความรับผิดชอบต่อผู้อื่น หมายถึง ภาระหน้าที่ของบุคคลที่จะต้องเกี่ยวข้อง และมีส่วนร่วมต่อ สวัสดิภาพของสังคมที่ตนเองดํารงอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหลายสิ่งหลายอย่าง ตั้งแต่สังคมขนาดเล็ก ๆ จนถึงสังคมขนาดใหญ่ การกระทําของบุคคลใดบุคคลหนึ่งย่อมมีผลกระทบต่อสังคมไม่มากก็น้อย บุคคลทุก คนจึงต้องมีภาระหน้าที่และความรับผิดชอบที่จะต้องปฏิบัติต่อสังคม ดังต่อไปนี้
2.1 ความรับผิดชอบต่อหน้าที่พลเมือง ได้แก่ การปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม การรักษา ทรัพย์สินของสังคม การช่วยเหลือผู้อื่น และการให้ความร่วมมือกับผู้อื่น
2.2 ความรับผิดชอบต่อครอบครัว ได้แก่การเคารพเชื่อฟังผู้ปกครอง การช่วยเหลืองานบ้านและ การรักษาชื่อเสียงของครอบครัว
2.3 ความรับผิดชอบต่อโรงเรียน ได้แก่ ความตั้งใจเรียน การเชื่อฟังครู – อาจารย์ การปฏิบัติ ตามกฎของโรงเรียนและการรักษาสมบัติของโรงเรียน
2.4 ความรับผิดชอบต่อเพื่อน ได้แก่ การช่วยตักเตือนแนะนําเมื่อเพื่อนกระทําผิด การช่วยเหลือ เพื่อนอย่างเหมาะสม การให้อภัยเมื่อเพื่อนทําผิดการไม่ทะเลาะและ เอาเปรียบเพื่อน และการเคารพสิทธิซึ่ง กันและกัน