การเคารพสิทธิหน้าที่ต่อตนเองและผู้อื่น
สิทธิ หมายถึง อำนาจหรือผลประโยชน์ที่ได้รับการคุ้มครองและรับรองตามกฏหมาย
สิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก
สิทธิที่จะมีชีวิตรอด ->> ได้รับการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน มีสันติภาพ และความปลอดภัย
สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา ->> มีครอบครัวที่อบอุ่น ได้รับการศึกษาที่ดี และภาวะโภชนาการที่เหมาะสม
สิทธิที่จะได้รับความคุ้มครอง ->> ให้รอดพ้นจากการทำร้าย การล่วงละเมิด การละเลย การนำไปขาย การใช้แรงงานเด็ก และการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบในรูปแบบอื่น ๆ
สิทธิที่ในการมีส่วนร่วม - >> ในการแสดงความคิดเห็น แสดงออก การมีผู้รับฟัง และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องที่มีผลกระทบกับตนเอง
ใบความรู้
การปกครองระบอบประชาธิปไตยจะมีความมั่นคงก้าวหน้าเพียงไร ย่อมขึ้นอยู่กับการที่ประชาชนใน ชาติรู้จักสิทธิ เสรีภาพ กระทําหน้าที่ตามความรับผิดชอบและมีคุณธรรม ความสําคัญของสิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ และคุณธรรมของพลเมือง มีดังนี้คือ
1. สิทธิ หมายถึง อํานาจหรือผลประโยชน์ที่ได้รับการคุ้มครองและรับรองตามกฎหมาย
2. สิทธิที่เป็นสิทธิเฉพาะบุคคล ได้แก่
2.1 สิทธิในชีวิตและร่างกาย
2.2 สิทธิในเคหะสถาน
2.3 สิทธิในครอบครัว
2.4 สิทธิในการประกอบอาชีพ
2.5 สิทธิในชื่อเสียงและเกียรติยศ
3. สิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน หมายถึง สิทธิที่มีเจ้าของมีอยู่ในทรัพย์สินนั้นโดยการถือกรรมสิทธิ์ และสามารถใช้ประโยชน์ใดๆได้ ตามที่เจ้าของทรัพย์สินต้องการ เช่น มีสิทธิในการให้ผู้อื่นเช่าบ้าน มีสิทธิใน การขายที่ดินของตน
4. การใช้สิทธิของบุคคล มีข้อจํากัดดังนี้คือ
4.1 การใช้สิทธิต้องเป็นไปตามขอบเขตและหลักการที่กฎหมายกําหนดไว้ จะละเมิดมิได้
๔.2 สิทธิบางอย่างเป็นสิทธิเฉพาะตน ผู้มีสิทธิจะต้องใช้ด้วยตนเองเท่านั้น จะมอบให้ผู้อื่นไม่ได้ เช่น สิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เป็นต้น
4.3 สิทธิบางอย่างอาจใช้โดยการมอบอํานาจหรือแต่งตั้งผู้แทนได้ เช่น การเบิกถอนเงินจาก ธนาคารเป็นต้น
เสรีภาพของประชาชน
1. เสรีภาพ หมายถึง ความเป็นอิสระของบุคคลที่จะกระทําการต่างๆได้ตามความต้องการของ ตน โดยไม่ละเมิดต่อผู้อื่นและไม่ผิดกฎหมาย
2. เสรีภาพของประชาชนไทยตามรัฐธรรมนูญ มีดังนี้
2.1 เสรีภาพในการนับถือศาสนา
2.2 เสรีภาพในการประกอบอาชีพ
2.3 เสรีภาพในร่างกาย
2.4 เสรีภาพในเคหะสถาน
2.5 เสรีภาพในการศึกษาอบรม
2.6 เสรีภาพในการเดินทาง
2.7 เสรีภาพในการพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา
2.8 เสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหกรณ์ และพรรคการเมือง
2.9 เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ
2.10 เสรีภาพในการส่งข่าวสารโดยทางไปรษณีย์หรือทางอื่นที่ชอบโดยกฎหมาย หน้าที่
1. หน้าที่ หมายถึง ภาวะที่บุคคลต้องกระทําหรืองดเว้นกระทําตามที่กฎหมายกําหนดไว้
2. หน้าที่มีความสัมพันธ์กับสิทธิโดยตรง ทั้งนี้ต้องคํานึงว่า เมื่อเรามีสิทธิแล้วเราต้องมีหน้าที่ด้วย
3. หน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ มีดังนี้คือ
3.1 ธํารงรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
3.2 หน้าที่ในการป้องกันชาติบ้านเมือง
3.2 หน้าที่ในการเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมือง
3.4 หน้าที่ในการช่วยเหลือราชการตามกฎหมาย
3.5 หน้าที่ในการรับราชการทหาร
3.6 หน้าที่ในการเสียภาษีอากรตามกฎหมาย
3.7 หน้าที่ในการเข้ารับการศึกษาภาคบังคับ
3.8 หน้าที่ในการใช้สิทธิเลือกตั้งโดยสุจริต
4. หน้าที่ของพลเมืองตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายอื่นๆ มีดังนี้คือ
4.1 หน้าที่ของบิดามารดาในการอุปการะเลี้ยงดูบุตร ๔.๒ หน้าที่ในการปฏิบัติตามอาชีพที่ตนรับผิดชอบ ๔.๓ หน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาที่กระทําไว้
5.หน้าที่ของพลเมืองในระดับท้องถิ่น มีดังนี้
5.1 หน้าที่ทางการเมือง เช่น การลงสมัครรับเลือกตั้ง การใช้สิทธิเลือกตั้งผู้แทนในท้องถิ่นของตน
5.2 หน้าที่ทางเศรษฐกิจ เช่น
ก. การประกอบอาชีพที่สุจริต
ข. การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
ค. การร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น
5.3 หน้าที่ทางสังคม ได้แก่ การประพฤติดี การพัฒนาสังคมให้เจริญก้าวหน้า